Single Gateway คืออะไร ? ประโยชน์และโทษ ?

วันนี้ขอพูดในเรื่องนอกเหนือจาก Antivirus หน่วยนะครับ ด้วยกระแสความแรงที่พูดถึงในวงการ IT กับนโยบายของ ICT และรัฐบาล ที่ร่วมกันผลักดันโครงการ "Single Gateway" ขึ้นมา จึงกลายที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในวงการมากว่า ทำขึ้นมาเพื่ออะไร ! และจะได้อะไร

ซึ่งวันนี้ผมก็อยากจะเปิดประเด็นนี้ขึ้นมาอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆทั่วกันว่าไอ้ Single Gateway ที่ว่าเนี่ย คืออะไร แต่ผมจะไม่เขียนเองทั้งหมดนะครับ จะใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากที่ต่าง ป้องกันการเขียนเชิงอคติ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันกับการทำงานของรัฐบาลด้วย

เอาละ เริ่มกันเลยดีกว่า

"Gateway คืออะไร"

โดยคร่าว Gateway คือประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ โดยหลักทำหน้าที่คล้ายกับตัวบอกสัญญาณไฟจราจรตามสี่แยก ที่คอยจัดแจงให้การใช้งานถนนนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น โดยในที่นี้เราจะพูดถึง Gateway ใน-นอกประเทศ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่

ปกติในเมืองไทยจะมี Gateway ที่หลากหลายช่องทาง แยกออกไปแล้วแต่ผู้ให้บริการอินเทอเนท ทำให้การใช้งานนั้นต้องสนองต่อปริมาณความต้องการวิ่งเข้า-ออก ข้อมูลภายนอกประเทศได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเปรียบเปรย Gateway นอกเหนือจากสัญญาณไฟจราจร ก็เปรียบเหมือนประตูบ้านดีๆนี้เอง

"Single Gateway คืออะไร"

"Single Internet Gateway เป็นโครงการของรัฐบาลไทยที่เพิ่งเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 ซึ่งเป็นการเข้ามา “ควบคุม” ช่องทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศจากเดิมที่มีหลายช่องทางให้เหลือเพียงช่องทางเดียว โดยหัวใจสำคัญของ Single Internet Gateway ก็คือการรวมศูนย์อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในประเทศให้ควบคุมได้ในจุดเดียว ไม่ใช่แยกกันหลายส่วนเหมือนปัจจุบัน ซึ่งทางรัฐบาลได้เขียนหลักการและเหตุผลของโครงการนี้ไว้ว่า “เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต"

ใจความสำคัญอยู่ที่ "Single Internet Gateway ก็คือการรวมศูนย์อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในประเทศให้ควบคุมได้ในจุดเดียว" หมายถึงการรวม 4 แยกหลายๆ 4 แยกมารวมกันเป็นแยกเดียว หรือปิดตายประตูช่องทางเข้า-ออกอื่นๆให้เหลือเพียงแค่ที่เดียวเท่านั้น

"Single Gateway ทำอะไรได้บ้าง"

การปิดช่องทางเข้า-ออกให้เหลือเพียงทางเดียว แน่นอนว่าเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบและตรวจจับการใช้งาน Traffic บนระบบ Internet ที่วิ่งไปนอกประเทศ รวมถึงการบล็อกการใช้งานเข้าถึงเซิฟเวอร์ภายนอก นั้นหมายถึงเว็บไซต์ที่เราใช้งานกับประจำอาทิเช่น google.com, youtube.com, twitter.com, facebook.com, paypal, steam, origin, internet banking นอกประเทศและอีกหมายมาย ที่มีโอกาสจะถูกปิดการใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนั้น

"หากโครงการ Single Internet Gateway ของประเทศไทยเกิดขึ้นจริงย่อมมีผลกระทบต่อผู้ใช้ทุกคนในวงกว้างตามมาอย่างแน่นอน ผมขอสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ ดังนี้ครับ

- รัฐบาลกละบุคคลที่เข้าถึงสามารถ “สอดแนม” หรือ “ดักข้อมูล” ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Facebook/LINE/Twitter และอื่นๆ) ทุกคนในประเทศ (ด้วยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่) ได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่เราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้หลายช่องทาง ทำให้การดักจับข้อมูลเป็นไปได้ยาก
- รัฐบาลสามารถปิดกั้นหรือ Block เว็บไซต์ต่างๆ ได้แบบหมดจดและเด็ดขาด ซึ่งขัดกับหลักการของอินเทอร์เน็ตที่ต้องมีการเปิดกว้าง
- ลดเสถียรภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศลง เช่น หาก Single Gateway ล่ม คนทั้งประเทศก็ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตออกนอกประเทศได้เลย จากเดิมถ้าล่มบางเส้น เส้นอื่นก็ยังสามารถใช้งานได้อยู่"

นอกจากจะเป็นเรื่องของรัฐบาลกับเสรีภาพการใช้งานด้วยแล้วนั้น ยังอาจจะมีผลกระทบในด้านอื่นๆอาทิเช่น ความเร็วที่ลดลงเมื่อใช้งานกับช่องทางต่างประเทศ อันเกิดมาจาก Gateway ไม่สามารถรองรับปริมาณ Traffic ที่มีมากได้, ความเสี่ยงที่จะโดนบุคคลไม่ประสงค์ดี แฮกเกอร์ แครกเกอร์ ทั้งหลายเข้ามาเจาะดักข้อมูล ซึ่ง SIngle Gateway ที่ไม่รัดกุมจะกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์ชั้นดีในการดักข้อมูลประเภทต่างๆเช่น internet banking และ e-pocket ทั้งหลาย (ต้องนำไปถอดรหัสอีกที) หรือย่ำแย่ที่สุดเลยคือ Gateway ล่มครับ.. นั้นหมายถึงคุณขาดช่องทางการติดต่อกับต่างประเทศไปเป็นระยะเวลาที่ไม่สามารถทราบได้ ซึ่งอาจจะหมายถึงช่วงเวลาสำคัญต่องาน ต่อเงิน ต่อกิจกรรมใดๆก็ตามของคุณ

"Single Gateway มีประโยชน์กับใคร"

ในที่นี้แน่นอนว่าการทำ Single Gateway เป็นการทำให้รัฐบาลและผู้บังคับใช้กฏหมายสามารถคอยสอดส่องการใช้งานที่ผิดปกติได้ จากที่ว่ามาทั้งหมด Single Gateway นั้นค่อนข้างจะเห็นได้ชัดว่าเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐบาลและกลุ่มผู้ปกครองเท่านั้น มิได้เอื้อประโยชน์ใดๆให้แก่ผู้ใช้มากนักหรือไม่มีเลย

แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากระบบความปลอดภัยที่หละหลวมนั้น ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะไว้ใจได้เพียงใดหาก "ะบบหรือ/และบุคคลที่ดูแลระบบ" นั้นมีปัญหา

ซึ่งก็ต้องขึ้นกับความไว้วางใจของประชาชนแล้วละครับ ว่าจะเลือกให้รัฐบาลสามารถสอดส่องเราได้ทุกอย่างและอาจจะหมายถึงคนอื่นนอกรัฐบาลด้วยที่สอดส่องเราได้โดยง่ายขึ้นในทุกข้อมูลย่างก้าวของเราหรือไม่

และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่รัฐบาลนี้เท่านั้นที่จะได้สิทธิการใช้งานนี้ "ต้องคิดเผื่อในรัฐบาลต่อๆไปในอนาคตอีก 10-20 ปีด้วยนะครับ" !!

ขอขอบคุณ
- http://www.9tana.com/node/single-internet-gateway/
- http://pantip.com/topic/32118360
- http://pantip.com/topic/32118917
- http://www.dailynews.co.th/article/334074
- http://prachatai.org/journal/2015/09/61537